วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558

เวลาเรียน 11.30-15.50 น.



ความรู้ที่ได้รับ

      อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง ด.ช. ช.ช้าง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า วิชาศิลปะ เราควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ครูไม่ควรสร้างปมด้อยในใจให้แก่เด็ก ตัวอย่างเช่น งานศิลปะเราไม่ควรประเมินด้วยคะแนนเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าเพื่อนมาก เพราะวิชาศิลปะเป็นวิชาที่เด็กจะได้ใช้สมอง ใช้สติปัญญาและจินตนาการมากที่สุด ทำให้เด็กได้เรียนรู้และเกิดกระบวนการคิดที่ต่อยอดได้มาก แต่ถ้าครูไปติ หรือว่ากล่าวเด็ก เด็กจะรู้สึกน้อยเนื้อตำใจในผลงาน ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของเขา และครูควรเชื่อในผลงานของเด็กที่เด็กได้ทำไม่ควรนำเด็กไปเปรียบเทียบกับเพื่อน เพราะเด็ฏบางคนมีความชอบที่ต่างกัน จึงทำให้งานศิลปะบางชิ้นสวยมาก และบางชิ้นไม่สวย ในการสร้างสรรค์ผลงานของเด็กถ้าครูจะดูว่าเด็กเป็นคนทำจริงหรือไม่ก็ควรดูจากร่องลอยการทำงานของเด็ก เช่น เศษยางลบ เศษดินสอ ไม่ควรเรียกเด็กไปถามแบบเจาะจงและถามเพื่อนเด็กตรงนั้น เพราะดูเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก และสร้างปมด้อยให้แก่เด็ก ซึ่งเด็กโตขึ้นไปอาจจะไม่ชอบวิชาศิลปะอีกเลย 



 เรื่อง ด.ช. ช.ช้าง



นอกจากนี้อาจารย์ยังสอนในเรื่อง การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ทำให้รู้จักคำว่าศิลปะมากขึ้น คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ ซึ่งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่


1.ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 มิติ         

1.1 เนื้อหา  

1.2 วิธีการคิด     

1.3 ผลของการคิด



2.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ แบ่งลำดับการคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น
   2.1 ขั้นการค้นพบความจริง
   2.2 ขั้นการค้นพบปัญหา
   2.3 ขั้นการสมมุติฐาน
   2.4 ขั้นค้นพบคำตอบ
   2.5 ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ



3.ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
  เกี่ยวกับการทำงานของสมองสองซีก ที่แตกต่างกัน คือ สมองซีกซ้ายคิดที่เป็นเหตุผล ส่วนสมองซีกขวาคิดตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์



4.ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ เป็นทฤษฎีที่จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคน



5.ทฤษฎีโอตา
ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวบุคคลสามารถพัฒนาได้ มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตะหนัก  คความเข้าใจ  เทคนิควิธี  และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ


พัฒนาการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย สามารถพัฒนาขึ้นได้โดยเป็นไปตามลำดับขั้นของวัย และพัฒนาให้สูงขึ้นได้เมื่อได้รับการดูและและการส่งเสริม จากผู้ปกครอง และครู




กิจกรรม มือน้อยสร้างสรรค์



^ผลงานของหนู^




บรรยากาศการสร้างสรรค์ผลงานของเพื่อนๆ^^


รวมภาพผลงานของเพื่อนๆ :)



ประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึก ตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างพฤติกรรมของเด็กให้ฟัง ปฎิบัติกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างตั้งใจ มีน้ำใจต่อเพื่อนในการใช้สีและอุปกรณ์ต่างๆร่วมกัน 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยทุกคน ให้ความร่วมมือในการเรียน และการปฎิบัติกิจกรรมในห้องเรียนอย่างเต็มที่ เพื่อนทุกคนช่วยเหลือและมีน้ำใจต่อกัน ทำให้การเรียนในวันนี้มีความสุขและสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา เนื้อหาสาระที่เรียนครบถ้วนและมีการบรรยายได้ละเอียด เข้าใจง่ายและทบทวนให้เมื่อสงสัย หรือไม่เข้าใจตรงไหน อาจารย์ก็จะบอกจนกว่าจะเข้าใจไม่มีการข้ามเนื่อหาในแต่ละตอน บรรยากาศในห้องเรียนมีความสุขมาก












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น